วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การเรียนรู้ครั้งที่ 7 วันพุธ ที่ 2 มีนาคม เวลา 8.30 - 15.00 น.



การไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนพิบูลเวศม์


สื่อและกิจกรรมและการจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน



นาฬิกาทรายขวดพลาสติกและเครื่องชั่งน้ำหนัก


ลูกคิด , บล็อกไม้หลากสี  , โทรศัพท์ของเล่น



ตารางกิจกรรมของเด็กในแต่ละวัน




นาฬิกาของเล่นและบล็อกต่อรูปร่างให้เข้ากัน



ตารางสถิติการมาเรียนของเด็ก



จำนวนการลบ


แผ่นการวัด


บล็อกไม้รูปทรงเรขาคณิตและบล็อกตัวเลขและทิศทางต่างๆ


การเปรียบเทียบความเหมือนต่างของปลา


การตกแต่งภาพจากหิน



การเรียนเรื่องเงิน



ตารางแบบสำรวจ



การแบ่งกลุ่มเด็กในห้องเรียน



แผนภูมิแสดงผลการเรียนรู้


ความรู้ที่ได้รับ


รู้จักการเลือกใช้สื่อที่สามารถนำมาส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ และรู้ว่าแต่ละสื่อนั้นควรจัดอย่างไรให้น่าสนใจและเหมาะสมสำหรับเด็ก  มีการจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนโดยการใช้สื่อมาเป็นการเรียนรู้สำหรับเด็ก และให้เด็กได้เรียนรู้และปฏิบัติได้ด้วยตนเอง จะทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากการเรียนรู้ และสามารถนำไปบูรณาการกับการเรียนได้ และยังทำให้เด็กสนใจการเรียนรู้มากขึ้น

การจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก


บูรณาการเรียนด้วยกิจกรรม 6 กิจกรรม 

1. กิจกรรมเคลื่อนไหว
2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
3. กิจกรรมสร้างสรรค์
4. กิจกรรมเสรี
5. กิจกรรมกลางแจ้ง
6. กิจกรรมเกมการศึกษา


กิจกรรมเสริมประสบการณ์



กิจกรรมสร้างสรรค์


กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ



กิจกรรมศึกษาตามแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชน



การเรียนรู้หลักสูตรแบบ mini english program ( MEP ) 


กิจกรรมการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กในห้องเรียน 



กิจกรรมเคลื่อนไหวตาม เพลง ผีเสื้อ 

- กิจกรรมนี้ครูจะให้เด็กๆ หาพื้นที่ของตนเอง และให้ทำท่าผีเสื้อ กางแขนออกขยับขึ้นลง และเคลื่อนไหวตามเพลง และเคลื่อนไหวตามคำพูดของครูว่าให้ขยับปีกไปทางใด โดยเคลื่อนไหวไปรอบๆ ห้อง ไม่ให้ชนกับเพื่อนๆ 


กิจกรรมเคลื่อนไหวตามจังหวะ

- กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กๆเครื่องไหวตามเครื่องเคาะจังหวะ คือ 1. ให้เด็กเดินหามุมของตัวเองสำหรับการเคลื่อนไหว 2. ให้เด็กๆกางแขนและหมุนตัวดูว่าเวลาหมุนแล้วชนกับเพื่อนข้างๆหรือไม่  ถ้าชนให้ลองหามุมใหม่หรือถ้าเด็กแกล้งกันครูต้องนำเด็กแยกกันและหาที่การทำกิจกรรมใหม่ 3. สอนเด็กทำท่าทางการเคลื่อนไหว  โดยเป็นท่าง่ายๆ ให้เด็กสามารถทำตามได้ คือ พูดกับเด็กว่า สวัสดีค่ะเด็กๆ วันนี้ครูจะสอนการเคลื่อนไหวตามจังหวะ โดยให้เด็กๆฟังจังหวะการเคาะจังหวะ ถ้าครูเคาะ 1 ครั้ง ให้เด็กๆก้าวเดินออก 1 ก้าวตามจังหวะเคาะไปทางไหนก็ได้ ถ้าครูเคาะจังหวะ 2 ครั้ง ให้เด็กก้าวเดินออก 2 ครั้ง ไปตามจำนวนเคาะจังหวะเรื่อยๆ และถ้าครูเคาะจังหวะรัวๆ ให้เด็กๆเคลื่อนที่ไปรอบๆห้องอย่างรวดเร็ว และอย่าให้ชนกับเพื่อนๆ  แต่เมื่อ เคาะ2ครั้งติดกัน คือ เป็นการให้หยุดการเคลื่อนไหวทันที 



กิจกรรมเคลื่อนไหวตามกลุ่มอาชีพ

- กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กๆ เคลื่อนไหวไปตามกลุ่มอาชีพตามจุดที่ครูกำหนดไว้ ว่าอาชีพนั้นอยู่ตรงไหน คือ 1. ครูให้เด็กเลือกอาชีพที่สนใจมา 4 อาชีพ คือ อาชีพทหาร หมอ ตำรวจ ครู 2. ครูกำหนดพื้นที่ของแต่ละอาชีพว่าอยู่ตรงไหนและให้เด็กๆ จำให้ได้ 3. ครูให้เด็กๆเคลื่อนไหวตามอาชีพที่ครูบอก และไม่ให้ส่งเสียงดัง และไม่ชนกัน เด็กๆ ก็จะเคลื่อนไหวตามที่ครูบอก

การจัดการเรียนการสอน

- การเรียนการสอนแบบบูรณาการเน้นพัฒนาการเด็ก ทั้ง ด้าน ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญาได้นำวิทยาศาสตร์ ,คณิตศาสตร์
และภาษาธรรมชาติ  การสอนแบบวอลดอร์ฟมารวมกัน และสอดแทรกคำถาม  ทักษะกระบวนการคิดและประสบการณ์สำคัญของเด็ก
การจัดประสบการณ์เน้นหน่วยทั้งหมด 40 หน่วย เช่น หน่วยผลไม้ , ผัก ใช้สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องรอบตัว
- การเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรแบบ  mini english program ( MEP ) เป็นการสอนที่มีภาษาอังกฤษ 50 % ในการเรียนการสอน
- การสอนแบบโครงการ Pro ject Approach เป็นนวัตกรรมที่โรงเรียนใช้มาประมาณ 10 กว่าปี  

โรงเรียนจะเน้นจัดการสอนแบบโครงการ Project Approach




การอภิปราย

เด็กได้ร่วมสนทนากับเพื่อนทั้งกลุ่มย่อย ทั้งชั้นเรียน เกี่ยวกับสิ่งที่สนใจ ทำให้เด็กมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันครูแนะนำสิ่งต่างๆช่วยให้เด็กคิดและสร้างความรู้ได้ง่ายขึ้น


การอภิปราย

การทำงานภาคสนาม

เด็กจะได้รับประสบการณ์ตรง จากการไปศึกษานอกสถานที่ สำรวจสิ่งต่างๆนอกห้องเรียน สถานที่ต่างๆเช่น ร้านค้า ถนน ป้าย การสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ การทำงานภาคสนามจะช่วยให้เด็กสร้างองค์ความรู้ได้


การทำงานภาคสนาม

การนำเสนอประสบการณ์

ช่วยให้เด็กได้ทบทวนและจัดระบบประสบการณ์ของตนเอง สิ่งที่นำเสนออาจมาจากการอภิปราย หาหัวข้อที่สนใจ การกำหนดคำถามการนำเสนอประสบการณ์ที่ตัวเองได้เรียนรู้ หาหัวข้อที่สนใจ การกำหนดคำถาม การนำเสนอประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ เช่น การวาดภาพการเขียน การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ บทบาทสมมติ สร้างสิ่งจำลอง เป็นต้น เพื่อเสนอให้เพื่อน ครู พ่อแม่ เข้าใจ


การนำเสนอประสบการณ์


การสืบค้น


ารสืบค้นสามารถใช้ข้อมูลที่หลากหลายวิธีตามความสนใจของเด็ก เพื่อค้นหาคำตอบของคำถามที่ตั้งไว้ เด็กๆอาจสัมภาษณ์พ่อแม่บุคคลในครอบครัว ขณะที่ออกภาคสนาม เด็กสืบข้อมูลหลายรูปแบบใช้แว่นขยายส่องดูของเล็กๆ สัมผัสการสังเกตผ่านประสาทสัมผัสทั้ง การทดลอง การหาคำตอบจากห้องสมุด เป็นต้น



การสืบค้น

การจัดแสดง

ผลงานของเด็กทั้งที่เป็นรายบุคคล รายกลุ่ม ซึ่งสามารถนำมาจัดแสดงได้ตลอดทุกระยะ การดำเนินการตามโครงการเกิดการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ เด็กและครูมีโอกาสได้บอกเรื่องราวของโครงการให้ผู้อื่นที่มาเยี่ยมเยือน


การจัดแสดง

จากโครงสร้างทั้ง จะอยู่ในระยะต่างๆ มี ระยะ

ระยะที่ ระยะเริ่มต้น เป็นระยะสร้างความสนใจของเด็ก
ระยะที่ ระยะดำเนินโครงการ เป็นระยะค้นหาคำตอบที่อยากรู้
ระยะที่ ระยะสรุปโครงการ เป็นระยะสรุปและประเมินผล

ตัวอย่างการสอนแบบโครงการ เรื่อง หิน



โครงการเรื่องหิน  

เด็กจะได้เรียนรู้ความหนัก - เบา ,เส้นรอบวง , ความยาว , การนับ , การคาดคะเนและรูปทรงเรขาคณิต

การประเมินของโครงการ

เด็กสามารถบอกชนิดของหินได้ แยกประเภทและแยกกลุ่มได้ รู้จักแยกสีและขนาด , รูปทรงได้

 วิธีการประเมินและเครื่องมือการประเมิน


- ประเมินตามสภาพจริง คือ การสังเกตเด็กจากการเล่นกลางแจ้ง การกระโดดของเด็ก จัดกลุ่มตามขนาดเล็กใหญ่ได้ โดยมีเกณฑ์การประเมินตามสภาพจริง เน้นการปล่อยให้เด็กปฏิบัติ และสังเกตพฤติกรรมในทุกๆ ด้าน เช่น ด้านอารมณ์และจิตใจ ประเมินจากความสุนทรีของเด็กในการวาดภาพตามจินตนาการ 

เครื่องมือการประเมิน แบบประเมินไม่เน้นเด็กในการอ่าน , เขียน แต่แบบประเมินจะประเมินตามพัฒนาการทั้ง ด้าน จะมีสมุดบันทึก  แบบรายงานประจำตัวเด็ก และจะเก็บผลงานของเด็กเป็นแฟ้มสะสมงาน ดูผลงานในทุกๆเดือน และสะสมเป็นรายปี 


คู่มือการประเมินตามสภาพจริง มี 3 ระดับ

3 ชัดเจน
2 เท่ากับเกณฑ์
1 ต่ำกว่าเกณฑ์


สมุดรายงานประจำตัวเด็ก



แฟ้มสะสมผลงานของเด็ก

ภาพการศึกษาดูงานที่โรงเรียนพิบูลเวศม์ 





เด็กๆมาโรงเรียนตอนเช้า



ห้องประชุมโรงเรียนพิบูลเวศม์


การวาดภาพระบายสีของเด็กๆ



การสอนแบบ MEP ในห้องเรียน



กิจกรรมเคลื่อนไหวในห้องเรียน



กิจกรรมสร้างสรรค์ ปั้นกินน้ำมัน



เด็กๆ รับประทานอาหารกลางวัน



นักศึกษารับประทานอาหารกลางวัน


การประชุมการศึกษาดูงาน



กลุ่มหนูเองค่ะ น่ารักทุกคน555 ><


อาจารย์น่ารักทั้ง 2 คนเลย555



ภาพถ่ายร่วมกันของนักศึกษาและอาจารย์


ความรู้ที่ได้รับ


รู้จักการใช้สื่อและกิจกรรมการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ว่าควรนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างไรให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย รู้วิธีการจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก ว่าควรนำกิจกรรม 6 กิจกรรมหลักมาใช้ในการบูรณาการการเรียนการสอน และจะต้องส่งเสริมพัฒนาทั้ง 4 ด้านในการจัดกิจกรรม สอดแทรกคำถาม ทักษะกระบวนการคิดและประสบการณ์สำคัญของเด็ก รู้วิธีการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวสำหรับเด็กในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ได้ในการเรียนการสอน และได้รู้วิธีการสอนแบบโครงการ Project Approach ว่ามีวิธีการจัดเป็นอย่างไร และได้รู้วิธีการประเมินและเครื่องมือที่ประเมินในการจัดกิจกรรมและการเรียนการสอนของเด็กว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้ในอนาคต 


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


- ทำสื่อได้หลากหลายที่ส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์
- นำความรู้การจัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมมาใช้ในการเรียนการสอนได้
- ฝึกการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหววำหรับเด็กปฐมวัย
- เน้นการทำกิจกรรมที่ให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ  

- นำการสอนแบบโครงการ Pro ject Approach เรียนรู้ในการเรียนการสอน

การประเมินผล


ประเมินตนเอง

วันนี้ไปตรงเวลาที่ครูกำหนดให้ไปศึกษาดูงาน ตั้งใจฟังและจดบันทึกระหว่างการศึกษาและระหว่างการประชุมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพิบูลเวศม์  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ สนใจและปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับการศึกษาดูงาน  คอยถามและฟังคำแนะนำของครูที่โรงเรียนเสมอ ตั้งใจศึกษาดูงานภายในโรงเรียนว่าเป็นอย่างไรได้อย่างเข้าใจ และการไปศึกษาดูงานครั้งนี้ทำให้ได้รับความรู้ในหลายเรื่องรู้สึกดีใจและประทับใจที่ได้มาศึกษาดูงานที่โรงเรียนพิบูลเวศม์มากค่ะ

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆ ตั้งใจฟังและจดบันทึกระหว่างการศึกษาและระหว่างการประชุมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพิบูลเวศม์  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ สนใจและปฏิบัติกิจกรรมอย่างตั้งใจ คอยช่วยเหลือกันและกัน และปฏิบัติตนได้เหมาะสมในการไปศึกษาดูงาน

ประเมินอาจารย์

อาจารย์สนใจนักศึกษาตลอดในการศึกษาดูงาน คอยแนะนำเรื่องที่เรียนให้ฟังในขณะการศึกษา อธิบายข้อมูลต่างๆ ในการประชุมได้เข้าใจง่าย ฟังคำปรึกษาของนักศึกษาเสมอ ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นค่ะ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น