วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การเรียนรู้ครั้งที่ 2 วันจันทร์ที่ 18 มกราคม เวลา 10.30 น. - 12.30 น. และ วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม เวลา 11.30 น. - 14.30 น.


เรื่องที่เรียนในวันนี้


(วันจันทร์ที่ 18 มกราคม เวลา 10.30 น. - 12.30 น.)


อาจารย์อธิบายรายวิชา ชี้แจงงานและคะแนนการตัดเกรดและ
นำเสนอเนื้อหาการจัดประสบการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย

ความรู้ที่ได้รับ


- ได้รู้ความหมายและความสำคัญของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หมายถึง กิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยจังหวะและดนตรีในการประกอบ ได้แก่ เสียงต่างๆ เช่น เสียงทำนองเพลง , เสียงปรบมือ , เสียงเคาะไม้ , การตีกลองหรือเสียงเครื่องดนตรี สิ่งของต่างๆ ที่สามารถนำมาประกอบจังหวะเคลื่อนไหวได้  เพื่อให้เด็กเกิดจินตนาการ รู้จักจังหวะ ได้ควบคุมและเรียนรู้การเคลื่อนไหวร่างกายของตนเองได้  เด็กที่ขาดทักษะการเคลื่อนไหวนั้นควรได้รับการกระตุ้นด้วยปัญหาเพื่อให้เด็กได้ค้นหาคำตอบตนเอง  
- ได้รู้ว่าจังหวะธรรมชาตินั้น ได้แก่ กระแสน้ำ , ลมพัด , น้ำขึ้นน้ำลง และจังหวะกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ การเดิน , การวิ่ง , การกระโดด , การมองเห็น , การได้ยิน เป็นต้น
- ได้รู้ว่าเป็นการผ่อนคลายความเครียดทั้งทางกายและใจ  เพราะได้ระบายออกจากการทำกิจกรรม 
- ได้รู้ว่าการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวจะต้องเป็นกิจกรรมที่เด็กชอบและสามารถเรียนรู้ได้ มีประโยชน์ในการทำกิจกรรม พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กได้ และให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
- รู้ขอบข่ายการเคลื่อนไหวและจังหวะ คือ 1. การเคลื่อนไหวแบบพื้นฐาน เป็นการเคลื่อนไหวอยู่กับที่ไม่เคลื่อนออกไปและการเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง  2. การเคลื่อนไหวแบบเลียนแบบ จะเป็นการเคลื่อนไหวที่เลียนแบบกัน ครูควรให้เด็กได้แสดงการเคลื่อนไหวก่อน เพราะถ้าเป็นตัวอย่างให้เด็กแล้วเด็กจะทำตามไปเรื่อยๆ 3. การเคลื่อนไหวตามบทเพลง 4. การเคลื่อนไหวประกอบเพลง 5. การเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ 6.การเคลื่อนไหวเป็นเรื่องราว 
- ได้รู้องค์ประกอบของการเคลื่อนไหว คือ 1. การรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย ให้เด็กได้รู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อมีกิจกรรมที่เกี่ยวกับร่างกายเด็กจะได้เข้าใจและทำตามได้ 2. บริเวณและเนื้อที่ ควรมีบริเวณของการเคลื่อนไหวที่เหมาะสมสำหรับกิจกรรม  3. ระดับของการเคลื่อนไหว 4. ทิศทาง ให้เด็กได้รู้จัก ข้างหน้า-หลัง ซ้าย-ขวา บน-ล่าง และ 5. การฝึกจังหวะ ด้วยร่างกาย , การเปล่งเสียง , การใช้เครื่องเคาะจังหวะ , การเคลื่อนไหว
- หลักการจัดกิจกรรม  ควรเริ่มจากการจัดเคลื่อนไหวแบบอิสระ ไม่บังคับเด็ก ให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ  เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดการเคลื่อนไหว  ควรกำหนดจังหวะนัดหมาย , สร้างบรรกาศอิสระในห้องเรียน , ไม่บังคับให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรม , จัดเพลงช้าๆ ให้เด็กได้ผ่อนคลาย  , จัดกิจกรรม ประมาณ 15 -20 นาที
- แนวทางการประเมิน คือ 1. สังเกตการเคลื่อนไหวต่างๆ ของร่างกาย  2. สังเกตการทำท่าทางแปลกใหม่ 3. สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง  4. สังเกตการแสดงออก  5. สังเกตความสนใจการเข้าร่วมกิจกรรม

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้  


- ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะได้ดีและเข้าใจมากขึ้น
- เป็นความรู้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้
- รู้จักการทำจังหวะดนตรีและเสียงประกอบการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวได้
- ผ่อนคลายความเครียดในการใช้ชีวิตประจำวันได้โดยการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การเต้น การเล่นเกมประกอบเพลงต่างๆ
- ถ้าจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวให้เด็ก จะให้เด็กได้ออกแบบท่าทางในการเคลื่อนไหวของตนเองก่อน
- เมื่อมีกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ จะให้เด็กรู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกาย  รู้ทิศทางต่างๆ และจัดบริเวณการทำกิจกรรมให้เหมาะสมการเคลื่อนไหวร่างกายสำหรับเด็ก
- สังเกตการประเมินกิจกรรมการเคลื่อนไหวได้ถูกต้อง

การประเมินผล   


ประเมินตนเอง 

ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน แต่อาจมีคุยกับเพื่อนบ้างค่ะ เพราะรู้สึกจะหลับ555 แต่เข้าใจเนื้อหาของเรื่องที่เรียน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  จดบันทึกความรู้ที่ได้จากการเรียน 

ประเมินเพื่อน

เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์และมีการแสดงความคิดเห็นร่วมกัน มีการจดบันทึกระหว่างเรียนด้วยค่ะ

ประเมินอาจารย์

อาจารย์สอนเนื้อหาได้ละเอียดและเข้าใจได้ง่าย  มีคำอธิบายในหัวข้อต่างๆ ได้ชัดเจน  อาจมีเนื้อหาเยอะแต่อาจารย์ก็มีอารมณ์ดีและพูดคุยกับนักศึกษาอยู่เสมอ ทำให้ไม่ค่อยง่วงเท่าไหร่ค่ะ555 อาจารย์จะให้คำแนะนำและยกตัวอย่างของเนื้อหาด้วย ทำให้เข้าใจมากขึ้นค่ะ




(วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม เวลา 11.30 น. - 14.30 น.)


    เรื่องที่เรียนในวันนี้  




เริ่มแรกอาจารย์ให้นักศึกษาฝึกทำท่าบริหารสมอง

อาจารย์ให้นักศึกษาออกมาเต้นเพลงคนละ 1 เพลง
ภาพเพื่อนๆในตอนเต้นกันค่ะ 





คนนี้เต้นพริ้วมาก เซ็กซี่  ท่าสวยเป๊ะมากเลยค่ะ เห็นแล้วชอบสุดๆ555 ><


คนนี้ก็พริ้วมากค่ะ ท่าสวยตรงกับเพลงเลย555 


คนนี้เต้นน่ารักค่ะ เหมือนเด็กเลย555


มาแบบเป็นคู่ก็มีค่ะ   เต้นน่ารักและตลกรวมๆกันเลยค่ะ555


ท่ารำก็มีค่ะ รำสวยเข้ากับเพลง ><


คนนี้คือหนูเองค่ะ555 เต้นไปอายเพื่อนไปไม่ได้เต้นให้เพื่อนดูนานค่ะเลยเขิน ><

ความรู้ที่ได้รับ


ได้รู้จักการเคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะเพลงมากขึ้น  ได้คิดท่าทางประกอบเพลงได้ด้วยตนเอง  และรู้ท่าทางการเต้นของเพื่อนๆแต่ละคนด้วยค่ะ ว่ามีท่าทางที่น่าสนใจแตกต่างกันไป555  ได้รู้จักการเต้นประกอบเพลงว่าควรมีท่าทางอย่างไร  รู้ว่าการที่จะสอนเด็กเต้นตามเพลงนั้นไม่ต้องมีท่าทางเยอะหรือยากเกินไปสำหรับเด็กค่ะ  เพราะเด็กจะเคลื่อนไหวร่างกายได้ยังไม่มาก ให้เตรียมท่าทางที่ง่ายเหมาะสมกับเพลงและเด็ก   ได้ฝึกความกล้าแสดงออกของตนเองมากขึ้น และได้รู้ว่าเพื่อนแต่ละคนนั้นมีความกล้าแสดงออกมากแค่ไหนค่ะ555



อาจารย์สอนเรื่องการเคลื่อนไหวพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย

ความรู้ที่ได้รับ


ได้รู้ว่าการเคลื่อนไหวพื้นฐานนั้น มีอยู่ 2 ประเภท คือ 1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ เป็นการเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย แต่จะไม่เคลื่อนตัวออกเลย เช่น การหมุนตัวซ้าย-ขวา การย่อ การกางแขน หมุนเข่า หมุนข้อมือ เป็นต้น  และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่  เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เช่น การเดิน  การวิ่ง การกระโดด  การคลาน เป็นต้น  ได้รู้ว่าการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นต้องให้สัมพันธ์กับเนื้อหาเรื่องที่เรียน  เป็นกิจกรรมที่ยากสำหรับการจัดเพราะจะต้องเป็นกิจกรรมที่ดึงดูดความสนใจของเด็กให้มากเพราะเด็กจะไม่สนใจและไม่ร่วมทำกิจกรรมเลย  เด็กบางคนอาจยังเคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่มากและควรหาท่าทางการเคลื่อนไหวที่ง่ายสำหรับเด็ก  



อาจารย์สอนการสอนกิจกรรมการเคลื่อนไหวพื้นฐานโดยให้นักศึกษาออกมาเป็นเด็ก

ความรู้ที่ได้รับ


ได้รู้วิธีการสอนกิจกรรมการเคลื่อนไหวพื้นฐาน คือ 1. ให้เด็กเดินหามุมของตัวเองสำหรับการเคลื่อนไหว 2. ให้เด็กๆกางแขนและหมุนตัวดูว่าเวลาหมุนแล้วชนกับเพื่อนข้างๆหรือไม่  ถ้าชนให้ลองหามุมใหม่ 3. สอนเด็กทำท่าทางการเคลื่อนไหวอยู่กับที่  โดยเป็นท่าง่ายๆ ให้เด็กสามารถทำตามได้ 4. สอนท่าทางการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่  โดยมีเครื่องเคาะจังหวะหรือนกหวีดเพื่อเป็นการบอกจังหวะการเคลื่อนที่ให้กับเด็ก  และบอกเด็กว่า ถ้าเคาะ 1 ครั้ง ให้ทำท่าเคลื่อนที่ 1 ครั้ง ถ้าเคาะ2ครั้งให้ทำ 2 ครั้ง ตามจำนวนการเคาะไปเรื่อยๆ  แต่ถ้าเคาะไปเรื่อยๆไม่หยุด คือ ให้เด็กเคลื่อนไหวท่านั้นไปเร็วๆและไม่หยุดอยุ่กับที่เลย แต่เมื่อ เคาะ2ครั้งติดกัน คือ เป็นการให้หยุดการเคลื่อนไหวทันที  การให้หยุดการเคลื่อนไหวนั้น อาจใช้เป็นนกหวีดแทนได้เพราะนกหวีดจะเป็นเสียงที่ดังและสั่งหยุดได้ชัดเจนกว่าเครื่องเคาะจังหวะ 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้   


-  คิดท่าทางการประกอบเพลงต่างๆ ได้
-  รู้จักการเคลื่อนไหวร่างกายในแบบต่างๆ
-  ฝึกท่าบริหารสมอง
-  เมื่อได้จัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวให้เด็กจะนำวิธีการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมไปใช้ในการจัด
-  ฝึกสอนการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย

การประเมินผล  


ประเมินตนเอง

วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและให้ความสนใจกับกิจกรรมเคลื่อนไหว  ตั้งใจทำกิจกรรม ให้กำลังใจเพื่อนๆ ที่ออกไปเต้น  การเต้นวันนี้ของหนูอาจยังไม่ดีเพราะไม่ได้เต้นให้เพื่อนดูนานค่ะ  ปกติจะเต้นด้วยกัน555  แต่ก็สามารถเต้นจนจบเพลงได้  ทำให้ฝึกความกล้าแสดงออกของตนเองมากขึ้นค่ะ  เข้าใจการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวมากขึ้น เพราะตอนแรกคิดว่าเป็นกิจกรรมที่ง่าย แต่จริงๆแล้วถ้าจัดกิจกรรมไม่ดึงดูดเด็กก็จะทำให้เด็กไม่ร่วมกิจกรรม  และรู้วิธีการสอนการเคลื่อนไหวพื้นฐานด้วยค่ะว่าเป็นอย่างไร รู้สึกสนุกเมื่อได้ทำกิจกรรมมากค่ะ555

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆ ตั้งใจทำกิจกรรมกันมากค่ะ  เต้นกันได้เต็มทีี่ และสวย น่ารัก ต่างกันไป555  แต่บางคนก็อาจเขินๆ เพราะไม่ได้เต้นนาน555  แต่เพื่อนๆก็ให้ความสนใจกันและกันตลอด  คอยให้กำลังใจกันเมื่อออกไปเต้น ตั้งใจฟังเมื่ออาจารย์สอนการจัดกิจกรรม  และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมตามอาจารย์ค่ะ เพื่อนๆดูสนุกและเพลิดเพลินกับการเรียนมาก555

ประเมินอาจารย์

อาจารย์น่ารักมากค่ะวันนี้  ให้ความสนใจนักศึกษาทุกคนและสอนทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ  เมื่อสอนการเคลื่อนไหวอาจารย์ก็จะทำด้วยค่ะ น่ารักมาก555  อาจารย์สอนแล้วทำให้รู้สึกเป็นเด็กอีกครั้งเลยค่ะ  เวลาเคลื่อนไหวตามที่อาจารย์บอก  อาจารย์จะบอกอยู่ตลอดว่าให้ทำแบบไม่ต้องเต็มที่มาก  เพราะจะทำให้เหนื่อยเกินไป  ให้ทำพอเข้าใจว่าควรทำแบบไหน  อาจารย์อธิบายการสอนการเคลื่อนไหวพื้นฐานได้ละเอียดมากค่ะ  ทบทวนให้อยู่เสมอ ทำให้เข้าใจการสอนได้ดี  รู้สึกสนุกกับการเรียนวิชานี้มากขึ้นเรื่่อยๆ ค่ะ ^^ 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น