เรื่องที่เรียนในวันนี้
(วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ เวลา 10.30 น. - 12.30 น.)
วันนี้ได้นำเสนอนักทฤษฎีแต่ละด้านและเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอย่างไร
กลุ่มที่ 1 ทฤษฎีการเคลื่อนไหวด้านร่างกาย
- ทฤษฎีการเคลื่อนไหวด้านร่างกายของอาร์โนลด์ กีเซลล์
พัฒนาการทางร่างกายนั้น หมายถึง การที่เด็กแสดงความสามารถในการจัดกระทำวัสดุ เช่น การเล่น ลูกบอล การขีดเขียน เด็กต้องใช้สายตาและกล้ามเนื้อมือ ซึ่งต้องอาศัยการเจริญเติบโตของระบบประสาทและการเคลื่อนไหวประกอบกัน ลักษณะที่สำคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเคลื่อนไหว การทำงานของระบบประสาทกล้ามเนื้อ การควบคุมส่วนต่างๆของร่างกาย การบังคับส่วนต่างๆของร่างกาย
กีเซลล์ แบ่งพัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวเป็น 4 ด้าน ดังนี้
1.พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว คือ เด็กจะได้ใช้อวัยวะกล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหว เด็กจะรู้จักการมีปฏิสัมพันธ์ในร่างกายและสามารถควบคุมการบังคับร่างกาย
2. พฤติกรรมด้านการปรับตัว คือ เด็กจะได้เรียนรู้การใช้งานโครงสร้างของกล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหว
3. พฤติกรรมด้านภาษา คือ เด็กจะแสดงออกทางสีหน้าและท่าทางการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นการกระทำหรือเป็นคำพูด
4. พฤติกรรมด้านนิสัยส่วนตัวและสังคม คือ เด็กจะรู้จักปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและเหมาะสมกับการเคลื่อนไหว
* ควรสังเกตเสมอว่าพัฒนาการด้านร่างกายของเด็กนั้นพร้อมที่จะเรียนรู้หรือไม่
- ทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์
การเรียนรู้ของเด็กเกิดจากกระบวนการที่เน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่แวดล้อมเด็ก ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัว
กระบวนการคิดประกอบด้วยลักษณะ 4 ข้อ คือ
1. แรงจูงใจ
2. โครงสร้าง
3. ลำดับขั้นความต่อเนื่อง
4.การเสริมแรง
พัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวแบ่งออกเป็น 3 ขั้น ดังนี้
1. ขั้นการกระทำ เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำ คือ เด็กจะคิดลักษณะการเคลื่อนไหวก่อนและจะแสดงออกมาเป็นการกระทำ
2. ขั้นจินตนาการหรือสร้างมโนภาพ คือ เด็กจะรู้จักจินตการได้จากการเคลื่อนไหว
3. ขั้นใช้สัญลักษณ์และคิดรวบยอด คือ เด็กจะรู้จักเรียนรู้ความสัมพันธ์สิ่งต่างๆรอบตัว และนำมาประกอบการเคลื่อนไหวได้
กลุ่มที่ 2 ทฤษฎีด้านสติปัญญา
- ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์
เน้นการเรียนรู้ด้วยกฎ 3 ประการ
1. กฎแห่งความพร้อม คือ การเรียนรู้นั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเด็กมีความพร้อมทั้งกายและใจ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมการใช้กล้ามเนื้อและระบบประสาท
2. กฎแห่งการฝึกหัด คือ เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำซ้ำๆ เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและจังหวะเด็กจะเกิดทักษะในแบบต่างๆ
3. กฎแห่งผล คือ เด็กเรียนรู้ได้ดีถ้าผลของการกระทำนั้นเป็นไปในทางบวกหรือทางที่ดี จะทำให้เด็กเกิดทักษะ
- ทฤษฎีการเรียนรู้ของเพียเจต์
พัฒนาการทางสติปัญญาเป็นผลจากการปฏสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม เพียเจต์ถือว่าการให้เด็กได้สัมผัสกับวัตถุต่างๆ จะส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ จำเป็นต้องให้เด็กได้เคลื่อนไหวและสัมผัสสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเด็ก
กลุ่มที่ 3 ทฤษฎีด้านความคิดสร้างสรรค์
- ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของกิลฟอร์ด
ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองที่คิดได้อย่างซับซ้อน กว้างไกล หลายทิศทาง ประกอบด้วยคามคิดริเริ่ม ความคล่องแคล่ว ความยืดหยุ่นและความละเอียดลออ
เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว คือ เป็นความสามารถในการคิด จินตนการโดยอาศัยประสบการณ์เดิมและนำมาปรุบปรุง มีการคิดได้อิสระ แสดงออกได้โดยการเคลื่อนไหวและออกแบบท่าทางต่างๆ ตามความคิดของเด็กเอง เช่น การที่เด็กจินตการว่าตนเองเป็นสัตว์ เด็กก็จะได้คิดแล้วแสดงท่าทางออกมา
- ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์
ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหาหรือสิ่งที่บกพร่องขาดหายไปแล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐานขึ้น และทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อทดสอบสมมติฐานนั้น
กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์แบ่งออกได้ 5 ขึ้นตอน ดังนี้
1. การพบความจริง
2. การค้นพบปัญหา
3. การตั้งสมมติฐาน
4. การแก้ปัญหา
5. ยอมรับผลจากการยอมรับ
ขั้นตอนของความคิดสร้างสรรค์มี 4 ขั้น ดังนี้
1. ขั้นเริ่มคิด
2. ขั้นครุ่นคิด
3. ขั้นเกิดความคิด
4. ขั้นปรับปรุง
เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอย่างไร คือ ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึก หากเด็กรู้สึกอย่างไรก็จะมีการแสดงออกและเคลื่อนไหวออกมาแบบนั้น
กลุ่มที่ 4 ทฤษฎีด้านสังคม
- ทฤษฎีสังคมของอีริคสัน
แบ่งพัฒนาการของบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 ความไว้วางใจ - ความไม่ไว้วางใจ
เป็นขั้นในวัยทารกเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาการวัยต่อไป เด็กทารกจำเป็นต้องมีผู้เลี้ยงดูเพราะช่วยตนเองไม่ได้
ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวเองอย่างอิสระ - ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง
เป็นวัยที่เริ่มเดินได้ สามารถที่จะพูดได้และความเจริญเติบโตของร่างกายช่วยให้เด็กมีอิสระ มีความอยากรู้อยากเห็น เด็กเริ่มอยากเป็นอิสระ
ขั้นที่ 3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม - การรู้สึกผิด
เป็นวัยที่เด็กมีความคิดริเริ่มอยากทำอะไรด้วยจนเองจากจินตนาการของตนเอง การเล่นจึงสำคัญมากและการสมมุติของต่างๆ
เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอย่างไร
เด็กมักมีความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ ต้องการที่จะเรียนรู้และทำอะไรด้วยตนเองและในวัยนี้มักมีการเคลื่อนไหวจากการเล่น ถือเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ของเด็ก เด็กอาจใช้ความคิดจินตนาการในการเคลื่อนไหว
- ทฤษฎีสังคมของอัลเบิิร์ต แบนดูร่า
กระบวนการเลียนแบบของเด็ก ประกอบด้วย 4 ประการ ดังนี้
1. กระบวนการดึงดูดความสนใจ คือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่เด็กได้สังเกตตัวแบบและตัวแบบนั้นดึงดูดให้เด็กสนใจที่จะเลียนแบบ เป็นพฤติกรรมง่ายๆ
2. กระบวนการคงไว้ คือ กระบวนการบันทึกรหัสเป็นความจำ การที่เด็กต้องมีความแม่นยำในการบันทึกสิ่งที่ได้เห็นหรือได้ยินเก็บเป็นความทรงจำ
3. กระบวนการแสดงออก คือ การแสดงผลการเรียนรู้ด้วยการกระทำ การที่เด็กเกิดผลสำเร็จในการเรียนรู้ากตัวแบบต่างๆเพื่อให้เกิดความแม่นยำ เด็กจะต้องแสดงออกได้จากการแสดงออกด้วยการเคลื่อนไหว
4. กระบวนการจูงใจ คือ กระบวนการเสริมแรงให้กับเด็กเพื่อแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบได้ถูกต้อง โดยเกิดการเรียนรู้จากการเลียนแบบตัวแบบที่มาจากบุคคลที่มีชื่อเสียงมากกว่าบุคคลไม่มีชื่อเสียง
เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอย่างไร
เมื่อเด็กเห็นสิ่งต่างๆ ที่ไม่เคยเห็น เด็กจะมีการสังเกตตัวแบบและเคลื่อนไหวตามในแบบท่าทางต่างๆ และเมื่อเด็กสังเกตสมองของเด็กจะมีการจดจำแล้วนำมาทำตาม และนำมาเลียนแบบในการเคลื่อนไหวตามสิ่งต่างๆ
- สามารถนำแนวคิดของแต่ละทฤษฎีไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวสำหรับเด็กได้เหมาะสม
- ได้รู้จักทฤษฎีแต่ละด้านที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวและนำไปเป็นความรู้ในการเรียนการสอนในอนาคต
- นำไปสังเกตพฤติกรรมต่างๆ ของเด็กเมื่อได้ปฏิบัติกิจกรรมเคลื่อนไหว
ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์สอน เมื่อเพื่อนๆ ออกไปนำเสนอจะตั้งใจฟังและสนใจเนื้อหาเรื่องที่นำเสนอ จดบันทึกระหว่างการนำเสนอ และเข้าใจเนื้อพอสมควร การนำเสนอของตนเองวันนี้ถือว่านำเสนอได้เข้าใจง่าย อาจมีเนื้อหาไม่ครบถ้วนตามที่ต้องการ แต่อาจารย์ได้แนะนำและสามารถเข้าใจมากขึ้น
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆ ตั้งใจนำเสนอหน้าชั้นเรียน อธิบายได้เข้าใจ และสนใจผู้ฟัง เป็นผู้ฟังและผู้พูดที่ดี และตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นร่วมกันในชั้นเรียน แต่ก็อาจมีบางคนที่ยังไม่เข้าใจและตอบไม่ได้ค่ะ555
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ได้แนะนำเนื้อหาที่ทุกคนนำมาเสนออยู่เสมอ คอยนำความรู้ที่เกี่ยวข้องมาอธิบายเพิ่มเติมทำให้เข้าใจมากขึ้น อาจารย์จะมีคำถามจากเนื้อหาของแต่ละกลุ่ม ทำให้ต้องเตรียมตัวในการตอบคำถามให้ดีค่ะ555 มีการยกตัวอย่างและติชมเนื้อหาของแต่ละกลุ่ม ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมมากขึ้นค่ะ
(วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ เวลา 11.30 น. - 14.30 น.)
- ก่อนเริ่มกิจกรรมในวันนี้อาจารย์ได้ให้ฝึกทำท่าบริหารสมองก่อนค่ะ หลังจากนั้นก็ให้นักศึกษาลุกขึ้นยืนเพื่อปฏิบัติกิจกรรม
- ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์
ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหาหรือสิ่งที่บกพร่องขาดหายไปแล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐานขึ้น และทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อทดสอบสมมติฐานนั้น
กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์แบ่งออกได้ 5 ขึ้นตอน ดังนี้
1. การพบความจริง
2. การค้นพบปัญหา
3. การตั้งสมมติฐาน
4. การแก้ปัญหา
5. ยอมรับผลจากการยอมรับ
ขั้นตอนของความคิดสร้างสรรค์มี 4 ขั้น ดังนี้
1. ขั้นเริ่มคิด
2. ขั้นครุ่นคิด
3. ขั้นเกิดความคิด
4. ขั้นปรับปรุง
เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอย่างไร คือ ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึก หากเด็กรู้สึกอย่างไรก็จะมีการแสดงออกและเคลื่อนไหวออกมาแบบนั้น
กลุ่มที่ 4 ทฤษฎีด้านสังคม
- ทฤษฎีสังคมของอีริคสัน
แบ่งพัฒนาการของบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 ความไว้วางใจ - ความไม่ไว้วางใจ
เป็นขั้นในวัยทารกเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาการวัยต่อไป เด็กทารกจำเป็นต้องมีผู้เลี้ยงดูเพราะช่วยตนเองไม่ได้
ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวเองอย่างอิสระ - ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง
เป็นวัยที่เริ่มเดินได้ สามารถที่จะพูดได้และความเจริญเติบโตของร่างกายช่วยให้เด็กมีอิสระ มีความอยากรู้อยากเห็น เด็กเริ่มอยากเป็นอิสระ
ขั้นที่ 3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม - การรู้สึกผิด
เป็นวัยที่เด็กมีความคิดริเริ่มอยากทำอะไรด้วยจนเองจากจินตนาการของตนเอง การเล่นจึงสำคัญมากและการสมมุติของต่างๆ
เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอย่างไร
เด็กมักมีความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ ต้องการที่จะเรียนรู้และทำอะไรด้วยตนเองและในวัยนี้มักมีการเคลื่อนไหวจากการเล่น ถือเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ของเด็ก เด็กอาจใช้ความคิดจินตนาการในการเคลื่อนไหว
- ทฤษฎีสังคมของอัลเบิิร์ต แบนดูร่า
กระบวนการเลียนแบบของเด็ก ประกอบด้วย 4 ประการ ดังนี้
1. กระบวนการดึงดูดความสนใจ คือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่เด็กได้สังเกตตัวแบบและตัวแบบนั้นดึงดูดให้เด็กสนใจที่จะเลียนแบบ เป็นพฤติกรรมง่ายๆ
2. กระบวนการคงไว้ คือ กระบวนการบันทึกรหัสเป็นความจำ การที่เด็กต้องมีความแม่นยำในการบันทึกสิ่งที่ได้เห็นหรือได้ยินเก็บเป็นความทรงจำ
3. กระบวนการแสดงออก คือ การแสดงผลการเรียนรู้ด้วยการกระทำ การที่เด็กเกิดผลสำเร็จในการเรียนรู้ากตัวแบบต่างๆเพื่อให้เกิดความแม่นยำ เด็กจะต้องแสดงออกได้จากการแสดงออกด้วยการเคลื่อนไหว
4. กระบวนการจูงใจ คือ กระบวนการเสริมแรงให้กับเด็กเพื่อแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบได้ถูกต้อง โดยเกิดการเรียนรู้จากการเลียนแบบตัวแบบที่มาจากบุคคลที่มีชื่อเสียงมากกว่าบุคคลไม่มีชื่อเสียง
เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอย่างไร
เมื่อเด็กเห็นสิ่งต่างๆ ที่ไม่เคยเห็น เด็กจะมีการสังเกตตัวแบบและเคลื่อนไหวตามในแบบท่าทางต่างๆ และเมื่อเด็กสังเกตสมองของเด็กจะมีการจดจำแล้วนำมาทำตาม และนำมาเลียนแบบในการเคลื่อนไหวตามสิ่งต่างๆ
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำแนวคิดของแต่ละทฤษฎีไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวสำหรับเด็กได้เหมาะสม
- ได้รู้จักทฤษฎีแต่ละด้านที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวและนำไปเป็นความรู้ในการเรียนการสอนในอนาคต
- นำไปสังเกตพฤติกรรมต่างๆ ของเด็กเมื่อได้ปฏิบัติกิจกรรมเคลื่อนไหว
การประเมินผล
ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์สอน เมื่อเพื่อนๆ ออกไปนำเสนอจะตั้งใจฟังและสนใจเนื้อหาเรื่องที่นำเสนอ จดบันทึกระหว่างการนำเสนอ และเข้าใจเนื้อพอสมควร การนำเสนอของตนเองวันนี้ถือว่านำเสนอได้เข้าใจง่าย อาจมีเนื้อหาไม่ครบถ้วนตามที่ต้องการ แต่อาจารย์ได้แนะนำและสามารถเข้าใจมากขึ้น
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆ ตั้งใจนำเสนอหน้าชั้นเรียน อธิบายได้เข้าใจ และสนใจผู้ฟัง เป็นผู้ฟังและผู้พูดที่ดี และตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นร่วมกันในชั้นเรียน แต่ก็อาจมีบางคนที่ยังไม่เข้าใจและตอบไม่ได้ค่ะ555
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ได้แนะนำเนื้อหาที่ทุกคนนำมาเสนออยู่เสมอ คอยนำความรู้ที่เกี่ยวข้องมาอธิบายเพิ่มเติมทำให้เข้าใจมากขึ้น อาจารย์จะมีคำถามจากเนื้อหาของแต่ละกลุ่ม ทำให้ต้องเตรียมตัวในการตอบคำถามให้ดีค่ะ555 มีการยกตัวอย่างและติชมเนื้อหาของแต่ละกลุ่ม ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมมากขึ้นค่ะ
(วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ เวลา 11.30 น. - 14.30 น.)
เรื่องที่เรียนในวันนี้
- ก่อนเริ่มกิจกรรมในวันนี้อาจารย์ได้ให้ฝึกทำท่าบริหารสมองก่อนค่ะ หลังจากนั้นก็ให้นักศึกษาลุกขึ้นยืนเพื่อปฏิบัติกิจกรรม
ภาพระหว่างปฏิบัติกิจกรรม
อาจารย์ให้ทุกคนคิดท่าการเคลื่อนไหวอยู่กับที่คนละท่าตามจังหวะเพลงและออกมาปฏิบัติหน้าชั้นเรียน |
เพื่อนๆออกมานำเสนอท่าเคลื่อนไหวอยู่กับที่ สนุกสนานกันมากค่ะ555 (อาจารย์ทำท่าน่ารักมาก><) |
ความรู้ที่ได้รับ
ได้ฝึกคิดท่าการเคลื่อนไหวอยู่กับที่ ทำให้รู้การทำท่าประกอบเพลงให้ตรงจังหวะเพลง และยังได้รู้ท่าเคลื่อนไหวอยู่กับที่่ที่หลากหลายด้วยค่ะ เพราะเพื่อนๆทุกคนมีท่าที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำกัน555
- ต่อมาอาจารย์ให้จับกลุ่ม 4 - 5 คน และคิดท่าการเคลื่อนไหวอยู่กับที่กลุ่มละ 10 ท่า แต่ละท่าในกลุ่มห้ามซ้ำกัน โดยเรียงจากท่าที่ง่ายไปท่ายาก และให้สมาชิกในกลุ่มออกมาทำท่าคนละ 2 ท่าให้เพื่อนดูหน้าชั้นเรียน
ภาพระหว่างปฏิบัติกิจกรรม
กลุ่มแรก ตั้งใจทำท่ากันทุกคนเลยค่ะ น่ารักมาก โดยเฉพาะอาจารย์ >< |
กลุ่มที่สอง กลุ่มนี้มีท่าที่น่ารักและตลกกวนๆรวมกัน ท่าของผู้ชายนี่ยากสุดเลยค่ะ555 |
กลุ่มที่สาม กลุ่มนี้ทำท่าดูพร้อมเพรียงและน่ารัก >< |
กลุ่มนี้เป็นกลุ่มของหนูเองค่ะ ถึงเวลาที่หนูเป็นคนนำเพื่อนๆในกลุ่มค่ะ อาจารย์บอกกลุ่มนี้ทำตรงจังหวะเพลงด้วย555 >< |
ความรู้ที่ได้รับ
กิจกรรมนี้ทำให้ได้รู้จักการคิดท่าเคลื่อนไหวอยู่กับที่ได้มากขึ้น รู้ว่าควรท่าไหนควรเป็นท่าที่ง่ายและยากขึ้นเรื่อยๆ และทำให้รู้จักการทำกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่ม ความสามัคคีกันในการทำท่าทางให้ตรงจังหวะตามเพลงและพร้อมเพรียงกัน และได้ท่าทางการเคลื่อนไหวอยู่กับที่มากขึ้นค่ะ ซึ่งสามารถนำท่าทางที่ได้นี้นำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัยได้ด้วย
- กิจกรรมสุดท้ายของวันนี้ คือ อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนออกมาแสดงเป็นครูที่สอนการเคลื่อนไหวอยู่กับที่ให้เด็ก คนละ 3 ท่า โดยท่าละ 5 ครั้ง
ภาพระหว่างปฏิบัติกิจกรรม
คนนี้ทำท่าได้ดี น่ารักและตลกด้วยค่ะ555 แต่บางท่าอาจสอนยังไม่ชัดเจน อาจารย์ได้ออกช่วยในการสอนด้วยค่ะ ^^ |
คนนี้สอนได้เข้าใจและธรรมชาติดีค่ะ บางท่าอาจมีถามอาจารย์บ้างว่าเรียกว่าท่าอะไร555 น่ารักทั้งอาจารย์และเพื่อนเลย >< |
คนนี้ได้สอนหลังๆ ค่ะ อาจารย์เลยไม่ได้ออกมาช่วย555 แต่สอนได้ดีและชัดเจนค่ะ อาจมีติดขัดบางท่าแต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดีค่ะ |
ถึงหนูเป็นครูสอนเด็กบ้างแล้วค่ะ สอนไปแล้วก็งงกับท่าที่สอน ^^" อาจารย์ก็งงตามด้วยค่ะ555 |
ความรู้ที่ได้รับ
ได้รู้วิธีการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย คือ
- เริ่มด้วยอาจารย์ทักทายสวัสดี พูดคุยกับเด็กๆ โดยมีท่าทางและสีหน้ายิ้มจริงใจ มองตาเด็กตลอดเวลาสอนเพราะจะทำให้เด็กรู้สึกว่าครูตั้งใจสอนและสนใจเด็กๆทุกคน ไม่ควรหันหลังให้กับเด็กเพราะจะทำให้เด็กไม่สนใจและไม่ปฏิบัติตาม หลังจากนั้นให้บอกเด็กว่าจะมาปฏิบัติกิจกรรมเคลื่อนไหวกัน ให้เด็กๆปฏิบัติตามท่าที่ครูสอน โดยเริ่มทำท่าเคลื่อนไหวท่าที่ 1 ไปจนครบจำนวนท่าที่เตรียมมา จำนวนการทำท่าแต่ละครั้งนั้นถ้าเป็นเด็กเล็กจะทำท่าละ 5 ครั้ง และอาจเพิ่มจำนวนได้ถ้าเด็กโต
- ควรสอนท่าที่ง่ายสำหรับเด็กให้เด็กได้เข้าใจและสามารถปฏิบัติตามได้ เช่น การย่ำเท้าอยู่กับที่ เวลาสอนเด็กจะต้องใช้ฝั่งซ้าย - ขวา ของเด็กเสมอถ้าเป็นเด็กเล็กเพื่อให้เด็กไม่สับสนการทำท่าตาม คือ เมื่อบอกเด็กยกเท้าซ้าย ครูต้องยกเท้าขวาเพื่อให้อยู่ฝั่งซ้ายข้างเดียวกับเด็ก เมื่อมีการทำท่าซ้าย - ขวาให้ทำแบบนี้อยู่เสมอสำหรับเด็กเล็ก จะทำให้เด็กทำท่าตามได้และระหว่างทำท่าควรนับจำนวนแต่ละท่า
- การสอนนั้นจะต้องยิ้มตลอดและไม่เครียด ใช้คำพูดอ่อนหวานอ่อนโยนและไม่เร็วจนเกินไป ควรอธิบายการทำท่าแต่ละท่าอย่างช้าๆ หรือยกตัวอย่างให้เด็กเข้าใจง่ายมากขึ้น เช่น ท่าสะบัดมือ อาจบอกเด็กว่า " เด็กๆ ไหนลองทำท่าสะบัดน้ำออกจากมือที่เปียกๆดูซิจ้ะ " จะทำให้เด็กนึกภาพออกและเข้าใจง่ายขึ้น
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- ได้นำท่าบริหารสมองไปฝึกทำได้ในการใช้ในชีวิตประจำวัน
- คิดท่าทางต่างๆในการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวได้
- นำท่าการเคลื่อนไหวอยู่กับที่ที่ได้ไปใช้ในการเรียนการสอนหรือการใช้ชีวิตประจำวันได้ เช่น การเต้น การออกกำลังกาย
- สามารถนำไปฝึกการสอนเด็กปฏิบัติกิจกรรมเคลื่อนไหวให้เหมาะสมและถูกต้อง
- ฝึกการยิ้มบ่อยๆ เพื่อจะได้นำมาใช้ในการเรียนการสอนได้
การประเมินผล
ประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจฟังและปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ อย่างตั้งใจ รู้สึกว่าทำท่าบริหารสมองได้ดีขึ้นค่ะ555 สามารถคิดท่าการเคลื่อนไหวอยู่กับที่ได้ และตั้งใจทำท่าต่างๆ ตามเพื่อนที่ออกไปนำเสนอ ช่วยเพื่อนๆ คิดท่าเคลื่อนไหวอยู่กับที่ และรับฟังความเห็นของเพื่อนในกลุ่ม สามารถเป็นผู้นำและเป็นผู้ตามได้ค่ะ สนใจเมื่ออาจารย์สอนการวิธีการสอนการเคลื่อนไหวสำหรับเด็ก และสามารถสอนได้ดีแต่อาจมีบางท่าที่ยังทำผิดพลาดไปบ้างค่ะ เพราะตื่นเต้น555 แต่อาจารย์ก็ได้มาช่วยสอนและสามารถทำตามได้ค่ะ คิดว่าจะนำวิธีการสอนในวันนี้ไปฝึกสอนอยู่เรื่อยๆ และจะนำมาปฏิบัติให้ดีขึ้นค่ะ ^^
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆ ตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมอยู่ตลอดค่ะ เพราะชอบกิจกรรมนี้กันค่ะ555 สามารถปฏิบัติตามที่อาจารย์กำหนดให้ได้ และมีความสนุกสนานระหว่างทำกันมากค่ะ เพื่อนๆจะช่วยกันคิดท่าทาง และสนใจเมื่อเพื่อนๆ แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ คอยให้กำลังใจกันและกัน แต่อาจมีแซวกันบ้างระหว่างทำกิจกรรมค่ะ555 ตั้งใจฟังเมื่ออาจารย์สอนและให้คำแนะนำอยู่เสมอ และส่วนใหญ่เพื่อนจะสามารถสอนกิจกรรมการเคลื่อนไหวได้ดีค่ะ อาจมีพลาดไปบ้าง เพราะเป็นครั้งแรกในการสอนกิจกรรมแบบนี้ คิดว่าในครั้งต่อไปเพื่อนๆ จะสามารถทำได้ดีขึ้นค่ะ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ตั้งใจสอนทำกิจกรรมอยู่ตลอดการเรียน ทำท่าทางการเคลื่อนไหวพร้อมกับนักศึกษาด้วยค่ะ และทำท่าได้น่ารักด้วย555 >< อาจารย์จะคอยแนะนำเสมอเมื่อทำผิดพลาด และตั้งใจดูนักศึกษาใจขณะทำกิจกรรมเสมอ สอนวิธีการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวได้ละเอียดและเข้าใจง่าย ทำให้นักศึกษาส่วนใหญ่สามารถปฏิบัติตามได้ ระหว่างการสอนของนักศึกษานั้น อาจารย์จะคอยช่วยสอนอยู่ข้างๆ เสมอและแนะนำการสอนเมื่อนักศึกษาทำผิดพลาด ถึงอาจารย์จะเหนื่อยแต่อาจารย์ก็ตั้งใจมาช่วยสอนเสมอ ทำให้เวลาเรียนแล้วรู้สึกสบายใจและสนุกสนานมากเลยค่ะ 555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น