วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การเรียนรู้ครั้งที่ 3 วันจันทร์ที่ 26 มกราคม เวลา 10.30 น. - 12.30 น. และ วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม เวลา 11.30 น. - 14.30 น.


เรื่องที่เรียนในวันนี้


(การเรียนรู้ครั้งที่ 3 วันจันทร์ที่ 26 มกราคม เวลา 10.30 น. - 12.30 น.)



ความรู้ที่ได้รับ


-  ประเภทของกิจกรรมการเคลื่อนไหว  ความรู้ที่ได้รับ
1. การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับร่างกาย  ประเภทของกิจกรรมการเคลื่อนไหว
  1.1 การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ขั้นพื้นฐาน เช่น  การเดิน  การวิ่ง  การกระโดด  การคลาน เป็นต้น
  1.2 การเคลื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนที่ เช่น  การดัน  การบิด  การเหยียด เป็นต้น
  2. การเคลื่อนที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ
  2.1  การทำให้วัตถุอยู่นิ่งเคลื่อนที่ เช่น การขว้าง การตี เป็นต้น
  2.2   การหยุดวัตถุที่เคลื่อนที่ เช่น การรับ การหยุด เป็นต้น
 -  สำนักพัฒนากรมพลศึกษา สุขภาพและอนามัย กรมพลศึกษา กล่าวถึง ประเภทของกิจกรรมเคลื่อนไหวเข้าจังหวะ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
  1. ประเภทเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานตามจังหวะ
  2. ประเภทฝึกปฏิบัติตามสัญญาณหรือข้อตกลง
  3. ประเภทกิจกรรมเนื้อหา
  4. ประเภทฝึกจินตนาการจากคำบรรยาย
  5. ประเภทกิจกรรมฝึกความจำ
-  การเคลื่อนไหวเบื้องต้น
1. เมื่อได้ยินจังหวะดังเน้นหนัก เด็กอาจนึกถึงการเดินแถวแบบทหาร หรือการกระโดดของกบ การควบม้า เป็นต้น
2. เมื่อได้ยินเสียงจังหวะที่เบา ๆ และช้าๆ เด็กอาจนึกถึงการเคลื่อนไหวของใบไม้ที่ต้องลม นกกำลังบิน ตัวหนอนกำลังคลาน ว่าวกำลังลอย เป็นต้น
- การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
1. การเล่นเกมประกอบเพลง เช่น เก้าอี้ดนตรี ฯลฯ
2. การเล่นเกมต่างๆ ของไทย เช่น มอญซ่อนผ้า งูกินหาง รีรีข้าวสาร ฯลฯ
3. การเคลื่อนไหวประกอบเพลง (การร้องเพลงประกอบท่าทาง) เช่น การเคลื่อนไหวประกอบเพลงกระต่าย ฯลฯ
4. การเต้นรำพื้นเมือง เช่น การเต้นรำของชาวพื้นเมืองเดนมาร์ก เพลงช่างทำรองเท้า ฯลฯ
- เพลงที่มีท่าทางประกอบเพลงนั้นเป็นการเคลื่อนไหวที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กรวบรวมความคิดและสนใจในสิ่งที่ทำอยู่
- การเคลื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนที่ เช่น การก้มตัว , การเหยียดตัว , การบิดตัว , การหมุนตัว , การโยกตัว , การแกว่ง เป็นต้น
- การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ เช่น การวิ่ง , การเดิน , การกระโดด ,  การกระโจน , การสไลด์ , การควบม้า เป็นต้น
การเตรียมร่างกายให้พร้อมทุกส่วน เพื่อให้มีความคล่องตัว ถือว่าเป็นการปูพื้นฐานเบื้องต้นที่สำคัญอย่างหนึ่ง เด็กต้องรู้ว่าร่างกายแต่ละส่วนเคลื่อนไหวอย่างไรและมากน้อยเพียงใด เด็กจะต้องฝึกหัดให้เข้าใจถึงลักษณะสภาพและการใช้ร่างกายของตนเอง
-  ระดับการเคลื่อนไหวทุกชนิดหารไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับความสวยงาม ความสมดุล ความเหมาะสมและท่าทางที่หลากหลายจะไม่เกิดขึ้น จะปรากฏแต่ความจำเจ ซ้ำซาก ไม่น่าดู ดังนั้นจึงควรมีการเปลี่ยนระดับของการเคลื่อนไหวตลอดเวลา
การเคลื่อนไหวย่อมมีทิศทางไปข้างหน้า ไปข้างหลัง ไปข้างๆ หรือเคลื่อนตัวไปรอบทิศ (คือหมุนตัวไปทุกทิศทุกทาง)  ถ้าไม่ได้รับการฝึกไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่มักจะเคลื่อนไหวไปข้างหน้าเพียงอย่างเดียว                                               
การทำจังหวะแบ่งออกเป็น 4 วิธี คือ
1. การทำจังหวะด้วยการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  2. การทำจังหวะด้วยการเปล่งเสียง
  3. การทำจังหวะด้วยการใช้เครื่องเคาะจังหวะ
  4. การทำจังหวะด้วยการเคลื่อนไหว
วัตถุประสงค์ของการทำกิจกรรมการเคลื่อนไหว
1. พัฒนาอวัยวะทุกส่วนของร่างกายให้ได้เคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กัน
2. ให้เด็กได้ผ่อนคลายความตึงเครียด
3. ให้เด็กได้รับประสบการณ์ ความสนุกสนาน รื่นเริง
4. สนองความต้องการตามธรรมชาติ ความสนใจและความพอใจของเด็ก
5. ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี
วิธีการศึกษาการเตรียมร่างกาย 
  1. ให้รู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกายว่าชื่ออะไร อยู่ตรงไหน และมีส่วนใดบ้างที่เคลื่อนไหวได้ มาก น้อย เพียงใด
  2. ขณะเคลื่อนไหว ควรฝึกให้เด็กรู้ตัวว่าร่างกายหรืออวัยวะส่วนใดกำลังเคลื่อน
ไหวหรือทำอะไรอยู่
แนวทางการประเมิน
1. สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
2. สังเกตการทำท่าทางแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน
3. สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง
4. สังเกตการแสดงออก
5. สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม
พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน



การทำงานของสมอง



- สมองซีกขวารับความรู้สึก
- สมองซีกซ้าย ตรรกะ , ภาษา
- สมองเรียนรู้โดยใช้ตรรกะและความรู้สึก

ตัวอย่างแบบทดสอบสมอง

ให้ลองอ่านตัวหนังสือจากตัวหนังสือและอ่านสีของตัวหนังสือและสังเกตดูว่าอ่านแบบใดง่ายกว่ากัน

 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


สามารถจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวได้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
- นำความรู้ที่ได้จากการเรียนนำไปใช้กับการเรียนการสอนในอนาคตได้ เช่น การทำกิจกรรมเคลื่อนไหว
- สามารถประเมินในการกิจกรรมเคลื่อนไหวได้
- ได้ฝึกการบริหารสมองเป็นประจำ

การประเมินผล  


ประเมินตนเอง

- ตั้งใจเรียนและสนใจเนื้อหาที่เรียน มีการจดบันทึกระหว่างเรียน และเข้าใจเนื้อที่เรียน ได้รู้จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวสำหรับเด็กมากขึ้น  ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์นำมาเป็นแบบทดสอบระหว่างเรียนแต่อาจยังไม่สามารถตอบได้หมดค่ะ555  และเมื่อรู้เฉลยก็สามารถเข้าใจได้  ตั้งใจทำท่าบริหารสมองให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรม

ประเมินเพื่อน 

- เพื่อนตั้งใจเรียนและตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมระหว่างเรียนค่ะ  แสดงความคิดเห็นร่วมกันอย่างสนุกสนาน เพื่อนบางคนอาจยังทำท่าบริหารสมองไม่คล่อง แต่ทุกคนก็พยายามกันมากค่ะ555

ประเมินอาจารย์

- อาจารย์อธิบายเนื้อหาบทเรียนอย่างละเอียด แต่อาจเยอะไปบ้าง อาจารย์ก็สามารถสรุปให้เข้าใจง่ายขึ้น มีการยกตัวอย่างให้เห็นภาพทำให้น่าสนใจในการเรียนค่ะ  อาจารย์มีแบบทดสอบมาให้ทำในการเรียนด้วยทำให้รู้สึกสนใจและสนุกสนานในการหาคำตอบ



(วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม เวลา 11.30น. - 14.30น.)

*ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ลาป่วย*


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น